ชื่อโครงการ : โครงการออกแบบและจัดทำแบบก่อสร้างอาคารโภชนาการ (แบบมาตรฐาน)
สำหรับโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ-ตติยภูมิ
ความสำคัญของโครงการ/ หลักการและเหตุผล
ในอดีต อาคารโภชนาการในโรงพยาบาล ได้รับการพิจารณาว่าเป็นเพียงสถานที่ประกอบอาหาร (โรงครัว) สำหรับบริการผู้ป่วยและอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานภายในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีผลการศึกษาและข้อสนับสนุนมากมายว่า การปรุงอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและเหมาะสมกับผู้ป่วย สามารถสนับสนุนการรักษาพยาบาลของแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล นับว่ามีความสำคัญไม่แพ้การดูแลรักษาตามวิธีการปกติของโรงพยาบาล กอปรกับมีการนำมาตรฐานต่างๆ เข้ามาประเมินการดำเนินงานของกลุ่มงานโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างเข้มข้น ทำให้อาคารโภชนาการซึ่งได้มีการออกแบบไว้เดิม ไม่สามารถสนองตอบการปฏิบัติงานในปัจจุบันซึ่งเน้นมาตรฐานการปฏิบัติงานและกระบวนการป้องกันการปนเปื้อนในทุกขั้นตอนของการประกอบอาหาร ส่งผลให้กลุ่มงานโภชนาการของโรงพยาบาลไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามที่กำหนด ด้วยเหตุดังกล่าว กลุ่มมาตรฐานสถาปัตยกรรม จึงเห็นควรดำเนินการพัฒนาแบบอาคารโภชนาการให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของการให้บริการและมาตรฐานที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อใช้เป็นต้นแบบและเป็นทางเลือกให้กับสถานบริการสุขภาพ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาสถานบริการสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อออกแบบและจัดทำแบบก่อสร้าง รวมทั้งเอกสารประกอบการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับอาคารโภชนาการในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ
ขอบเขตของโครงการ/ พื้นที่เป้าหมาย/ กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มงานโภชนาการ ในสถานบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ
ผลผลิต/ ผลลัพธ์ของโครงการ
แบบก่อสร้างอาคารโภชนาการ (แบบมาตรฐาน) จำนวน 1 แบบ/ กลุ่มงานโภชนาการในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ควบคุม กำกับ ให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ/เป้าหมาย
1. เชิงคุณภาพ: ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ (ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนปฏิบัติการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของที่กำหนด)
2. เชิงปริมาณ: จำนวนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านอาคารและสภาพแวดล้อมที่ได้รับการจัดทำ/ พัฒนา (แบบมาตรฐานอาคารอาคารโภชนาการ ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ จำนวน ๑ แบบ)
ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ส่งเสริมพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สถานพยาบาลและสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
เป้าประสงค์ที่ 1 : ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย สมประโยชน์ เท่าเทียมกัน
กลยุทธ์ที่ 1 : ส่งเสริมการยกระดับสถานพยาบาลและสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้มีคุณภาพมาตรฐาน
ผู้รับผิดชอบ
กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
ทรัพยากรที่ต้องใช้
1. สถาปนิก มัณฑนากร วิศวกร นายช่างโยธา นายช่างประมาณราคา นายช่างเขียนแบบ
2. งบประมาณระจำปี พ.ศ. 2560
3. ห้องประชุมพร้อมโสตทัศนูปกรณ์ กองแบบแผน
4. เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมช่วยออกแบบ/เขียนแบบ และเครื่องพิมพ์แบบ/หมึกพิมพ์
ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ
สถาปนิก วิศวกร มัณฑนากร และนายช่างสาขาต่างๆ ในกองแบบแผน รวมทั้งเจ้าหน้าที่/ผู้บริหารเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิในส่วนภูมิภาค
ประโยชน์ที่จะได้รับ
๑. กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีแบบก่อสร้างมาตรฐานสำหรับกลุ่มงานโภชนาการ ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ เพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ควบคุม กำกับอาคารและสภาพแวดล้อมของสถานบริการสุขภาพให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
๒. สถานบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ควบคุม กำกับอาคารและสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
โครงการอื่นที่เกี่ยวข้อง
-
ความเสี่ยงที่สำคัญ และแนวทางในการลดความเสี่ยง
ความเสี่ยง: คณะทำงานมีภาระงานจำนวนมากจากหลายโครงการทำให้มีข้อจำกัดเรื่องเวลา ไม่สามารถดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติงานที่กำหนด
แนวทางลดความเสี่ยง: 1. กำหนดเป็นตัวชี้วัดของคณะทำงาน
2. กำหนดหน้าที่รับผิดชอบในโครงการและจำนวนโครงการที่รับผิดชอบ
อย่างชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน หรือมีจำนวนโครงการที่ร่วมดำเนินการมากเกินไป
3. ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด
4. ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ